วันเสาร์ที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๐

การวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

เรื่องของภาษี เป็นสิ่งที่หลายๆคนไม่รู้ และมักคิดว่าเป็นเรื่องที่ไกลตัวมากๆ เพราะคิดว่าคนที่จะต้องมายุ่งเกี่ยวก็คงจะมีเฉพาะพวกที่มีเงินเยอะๆ ต้องเสียภาษีมากๆเท่านั้น ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง เพราะจริงๆแล้วเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมากๆ

คนส่วนใหญ่ของสังคมก็คือชนชั้นกลางที่ทำงานกินเงินเดือน ซึ่งคนกลุ่มนี้ถูกหักภาษีไปก่อนที่จะได้รับเงินเดือนด้วยซ้ำไป และที่สำคัญผมเคยถามเพื่อนๆหลายคนว่า รู้มั้ยว่าตัวเองต้องเสียภาษีปีละเท่าไหร่ เสียไหนอัตราไหน เกือบละร้อยทั้งร้อยตอบว่าไม่รู้ ก็ฝ่ายบุคคลเข้ายื่นภาษีให้หมดแล้วนี่ ชั้นไม่อยากรู้หรอก ยุ่งยากเปล่าๆ แล้วแกจะรู้ไปทำไม

ก็จริงของเค้าครับ ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าผมควรจะรู้เรื่องภาษีของเค้าไปทำไม ถ้าตัวเค้าเองยังไม่รู้สึกอยากรู้ ไม่รู้สึกว่ามันมีประโยชน์ต่อตัวเค้าเอง ผมก็เลยไม่คุยต่อ เพราะรู้สึกว่าเสียเวลาถ้าต้องมานั่งเริ่มต้นปรับกรอบความคิดกันตั้งแต่ต้น เอาไว้เค้าอยากรู้เมื่อไหร่ แล้วเข้ามาถาม เราค่อยเล่าให้เค้าฟังมันจะเหนื่อยน้อยกว่ากันเยอะเลย

แต่สำหรับคนที่สนใจและคิดว่าเป็นประโยชน์ ผมก็อยากให้ลองศึกษาหาควารู้เพิ่มเติมนะครับ ที่ผมจะเอามาฝากในวันนี้ก็จะเป็นส่วนเล็กๆที่ผมได้จากการเข้าไปอบรมสัมมนาหลายๆที่นะครับ แล้วถ้ามีอะไรน่าสนใจเพิ่มเติมก็จะเอามาฝากกันอีกทีครับ

ข้อมูลส่วนนี้ได้มาจาก หลักสูตรสัมมนาของ TSI นะครับ


1. การฝากเงิน (ออมทรัพย์)
- ดอกเบี้ยจากการฝากออมทรัพย์ใน ธ.พาณิชย์จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% แต่มีสิทธิเลือกไม่นำมารวมคำนวณสิ้นปีได้ แต่ถ้าดอกเบี้ยรวมไม่เกิน 20,000 บาทก็จะได้รับการยกเว้นภาษี

- ดอกเบี้ยจากการฝากเผื่อเรียกไว้กับ ธ.ออมสิน หรือสลากออมสิน ได้รับการยกเว้นภาษี

- ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ที่ได้รับจากสหกรณ์ได้รับการยกเว้นภาษี

- ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์จาก ธกส.ได้รับการยกเว้นภาษี



2.การฝากเงิน (ประจำ)
- ดอกเบี้ยเงินฝาก ธ.ออมสินหรือ ธ.พาณิชย์ (ระยะตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป)จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% แต่มีสิทธิเลือกไม่นำมารวมคำนวณตอนสิ้นปีได้
(แต่จะได้รับการยกเว้นภาษีสำหรับผู้ที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ โดยเมื่อรวมดอกเบี้ยเงินฝากประจำทุกประเภทแล้วต้องมีจำนวนไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี )

- ดอกเบี้ยจากการฝากออมทรัพย์แบบพิเศษที่มีเงื่อนไขให้ฝากเป็นรายเดือน จำนวนยอดฝากเท่ากันทุกเดือน คราวละไม่เกิน 25,000 บาท เป็น
ระยะเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 24 เดือนจะได้รับการยกเว้นภาษี (เงินฝากประเภทนี้ต้องลองสอบถามกับแต่ละธนาคารดู)



จะเห็นได้ว่าแค่เรื่องของประเภทเงินฝาก ถ้าเรามีความรู้เรื่องของภาษีที่เกี่ยวข้อง เราก็อาจจะสามารถเพิ่มอัตราผลตอบแทนให้กับตัวเองได้มากขึ้นแล้ว และถ้าเรามีความรู้เรื่องของประเภทรายได้ และการสร้างหน่วยภาษีขึ้นมาใหม่ด้วยเเล้ว เงินฝากบางประเภทที่เคยเสียภาษีในอัตรา 15% เราก็อาจจะได้คืนกลับมาบางส่วนหรือทั้งหมดเลยก็เป็นได้ครับ แล้วครั้งต่อไปจะมาเล่าเรื่องการวางแผนภาษีในด้านอื่นๆต่อไป


1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

Hello. This post is likeable, and your blog is very interesting, congratulations :-). I will add in my blogroll =). If possible gives a last there on my blog, it is about the Impressora e Multifuncional, I hope you enjoy. The address is http://impressora-multifuncional.blogspot.com. A hug.